h2.post-title{ font-size:18px;}

5/17/2553

De regelmatige werkwoorden คำกริยาปกติ

De regelmatige werkwoorden

: คำกริยาปกติ พูดง่ายๆก็คือคำกริยาที่ผันรูปโดยการเติม de/te, den/ten ท้ายรากศัพท์(stam/ik vorm)เมื่อเป็นรูปอดีตกาล(de verleden tijd)
สรรพนามคำกริยาในรูปปัจจุบัน
(de tegenwoordige tijd หรือ ott)
คำกริยาในรูปอดีต
(de verleden tijd หรือ ovt)
ikwerkwerkte
jij/jewerkt (Werk je? รูปคำถามไม่มี t จ๊ะ)werkte
เอกพจน์uwerktwerkte
hijwerktwerkte
zij/zewerktwerkte
julliewerkenwerkten
พหูพจน์wij/wewerkenwerkten
zij/zewerkenwerkten
สรรพนามคำกริยาในรูปปัจจุบัน
(de tegenwoordige tijd หรือ ott)
คำกริยาในรูปอดีต
(de verleden tijd หรือ ovt)
ikluisterluisterde
jij/jeluistert (Luister je? รูปคำถามไม่มี t จ๊ะ)luisterde
เอกพจน์uluistertluisterde
hijluistertluisterde
zij/zeluistertluisterde
jullieluisterenluisterden
พหูพจน์wij/weluisterenluisterden
zij/zeluisterenluisterden
  • หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วฉันจะเติมไอ้เจ้า de/te, den/ten ยังไงหละ? นั่นก็คือใช้หลักการเติม ‘t KoFSCHiP หรือ SoFT KeTCHuP ให้ดูที่กริยารูปเต็ม(infinitief) แล้วตัด –en ที่อยู่ส่วนท้ายสุดของคำกริยานั้นออก จากนั้นให้ดูตัวอักษรที่ยืนอยู่ท้ายสุดของคำกริยานั้นว่าเป็นมีตัว S, F, T, K, CH หรือ P รึเปล่า? ถ้ามีตัวหนึ่งตัวใดในนี้ยืนอยู่หลังสุดของคำกริยานั้นหละก็ แปลว่าเราต้องเติมตัว t ต่อท้าย แต่ถ้าไม่มีพยัญชนะเหล่านี้ ก็เติมตัว d ต่อท้ายเจ้าค่าเอ๊ย
  • Werken → k ยืนท้ายสุด และอยู่ในกฎ ‘t KoFSCHiP ให้เติม t ต่อท้าย
ดังนั้น รูปอดีต(imperfectum/ovt) : stam + te/ten → werkte/werkten
  • Luisteren → r ยืนท้ายสุด และไม่อยู่ในกฎ ‘t KoFSCHiP ให้เติม d ต่อท้าย
ดังนั้น รูปอดีต(imperfectum/ovt) : stam + de/den → luisterde/luisterden
ข้อยกเว้น(อีกแล้ว)
  1. werkwoord ที่ต่อท้าย ik จะไม่มี t เช่น ik krijg
  2. werkwoord ที่ใช้กับ jij/je จะมี t แต่ถ้าเป็นรูปประโยคคำถาม werkwoord จะไม่มี t เช่น Jij krijgt. กับ Krijg jij?
  3. infinitief (กริยารูปเต็ม) ที่ใช้สระเสียงสั้น เช่น kopen, slapen, lezen เมื่อ –en ถูกตัดไป ต้องเติมสระนั้นเข้าไปอีกตัวนึง ดังนี้ ik koop, jij koopt, jullie kopen หรือ ik slaap, jij slaapt, jullie slapen หรือ ik lees, jij leest, jullie lezen
  4. infinitief(กริยารูปเต็ม) ที่มีตัว v หรือ z ตรงกลางของคำ จะถูกเปลี่ยนจาก v เป็น f และจาก z เป็น s ในการใช้กับ ik/jij/u/hij/zij เช่น schrijven – schrijf(t), lezen – lees(t), geven – geef(t)
  5. werkwoord ที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษ เช่น push, match, fax ให้เขียน t ต่อท้าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ ex-kofschip การใช้ d หรือ t
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็ต้องถอนหายใจ แต่อย่าเพิ่งท้อนะ เพราะนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีข้อยกเว้นอีกมากมายในการเรียนภาษาดัตช์ หลักในการเรียนภาษาดัตช์นั้นสำคัญที่สุดก็อยู่ที่ต้องผันรูปกริยาให้คล่อง ส่วนที่เหลือก็จะง่ายขึ้นเองคะ ลองหาแบบฝึกหัดมาทำเยอะๆนะจ๊ะ จะได้จำคำศัพท์ได้เยอะๆ หัดอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาดัตช์ด้วยก็ดีจ้า จะได้หัดแต่งประโยคในภาษาดัตช์ไปในตัว


@MaLiWan@
 

SEO

ASR

Free counter and web stats