Luisteren
การสอบฟังจะมีอยู่สองลักษณะนะคะคือ
- globaal luisteren คือ ฟังเรื่องบางอย่างแล้วต้องสรุปรวมๆได้ว่าเรื่องนี้พูดเกี่ยวกับอะไร
- selectief luisteren คือ ฟังแล้วหาคำตอบในเรื่องที่ฟังได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น
ข้อสอบฟังจะมีอยู่ 3 ตอน(ห้ามใช้พจนานุกรมคะ) โดยฟังและตอบคำถามจากคอมพิวเตอร์ ทั้งสามตอนนี้จะมีหลากหลายสถานการณ์ หลายสำเนียง แต่ไม่มี dialect บางสถานการณ์มีคนคุยกันถึงสองหรือสามคน บางอันก็เป็นข่าว บางอันก็เป็นบทสัมภาษณ์
ตัวข้อสอบจริงๆที่มดได้เคยเจอมา มันจะเกี่ยวกับ opleiding กับ werk เช่น Een werkgever die een nieuwe werknemer vertelt wat hij precies moet gaan doen.
บางข้อจะมีรูปให้เราดูในคอมพิวเตอร์ แล้วก็ให้เราฟังเค้าอธิบาย หลังจากนั้นก็ให้เราตอบคำถามว่าที่เค้าพูดอธิบายมาให้เราฟังทั้งหมดเนี้ย มันตรงกับรูปไหน (พอเห็นรูปปุ๊บก็ตั้งสติให้ดีนะคะ แล้วก็ฟังเค้าอธิบาย อันนี้ไม่ยากคะ) แล้วบางข้อก็เป็นรูปนาฬิกา
ข้อสอบฟังนี้ จะเป็นแบบตัวเลือกนะคะ A, B, C บางข้อก็มีถึง D คะ เทคนิคในการสอบฟังคือ เราต้องรีบอ่านตัวคำถามก่อน จากนั้นก็ให้รีบอ่านตัวเลือก A, B, C และ D ที่บอกให้รีบเพราะว่าถ้ามัวแต่ชักช้า เราอ่านคำถามหรือคำตอบยังไม่ทันเสร็จ ไอ้เจ้าคอมพิวเตอร์มันก็จะพูดขึ้นมาเลยคะ ทีนี้เราก็จะไม่มีเวลาทำความเข้าใจคำถามและคำตอบอีกต่อไป เพราะเราต้องไปตั้งใจฟังในสิ่งที่เค้ากำลังพูด พอฟังเสร็จเราก็ต้องเลือกตอบให้รวดเร็ว แล้วให้คลิ๊กไปคำถามข้อถัดไปเพื่ออ่านคำถามและคำตอบอีก (อย่าข้าม ถ้าไม่รู้ก็ให้เดาไปก่อน เพราะไม่งั้นเราจะไม่มีเวลากลับมาตอบคำถามข้อนั้นอีก)
ข้อสอบฟังทั้งสามตอนนี้ จะมีอยู่ประมาณ 40 ข้อ บางทีก็มากกว่านั้นคะ แล้วแต่ชุดข้อสอบในแต่ละชุด
ถ้ามดจำไม่ผิด การแก้ไขคำตอบเราก็สามารถทำได้คะ แต่ว่าเราจะไม่สามารถย้อนไปฟังบทความนั้นได้อีก นี่แหละเหตุผลที่ว่า ถ้าไม่รู้ก็เดาคำตอบไปก่อน ไอ้เจ้าคำตอบนี่มันก็ลวงๆเราเหมือนกันนะคะ เช่น เค้าจะเปลี่ยนแค่ doordat กับ daardoor อะไรเงี้ย ส่วนที่เหลือในประโยคเหมือนกันหมด (มดเองก็สติแตก อ้าว..แล้วไอ้สองตัวนี้มันต่างกันไงวะ?) บางคนอาจจะอธิบายให้มดฟังได้อย่างละเอียด แต่ ณ สถานการณ์ ในห้องสอบขณะนั้น มันคิดอะไรไม่ออกแล้วเจ้าคะ เดามันโลด
ตอนที่มดสอบฟัง เค้ามีการให้เราหยุดพักประมาณ 10 นาที (ในห้องสอบ) เพื่อให้เราผ่อนคลายด้วยคะ
Lezen
ข้อสอบอ่านนี้ก็ไม่พ้นเกี่ยวกับเรื่อง opleiding กับ werk แต่ก็จะมีเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันด้วย เช่น จดหมาย, คู่มือการใช้อุปกรณ์บางอย่าง, อ่านบทสัมภาษณ์ ฯลฯ
- descriptieve teksten, bijvoorbeeld berichten van een opleiding of werkgevers, informatiefolders en teksten uit leerboeken;
- persuasieve teksten, bijvoorbeeld advertenties en ingezonden brieven;
- beschouwende teksten, bijvoorbeeld artikelen uit tijdschriften uit de wereld van arbeid en opleidingen met meningen van verschillende personen;
- instructieve teksten, bijvoorbeeld handleidingen over de werking van apparaten, routebeschrijvingen en teksten over wat je moet doen bij een brand of bij een ongeluk op het werk.
บางข้อนั้นจำเป็นต้องอ่านทั้งบทความเราถึงจะสามารถตอบคำถามได้คะ … อ่านมาถึงตรงนี้บางคนก็แย้งว่าแล้วฉันจะรู้ได้ไงว่าจะต้องอ่านทั้งหมด หรือเลือกอ่านแค่บางตอน อันนี้ต้องไปลองหัดทำข้อสอบ Voorbeeldexamen ดูคะ แล้วจะรู้ มดได้เขียนลิงก์ไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้วคะ ลองเข้าไปอ่านดู
ข้อสอบอ่าน จะมีเรื่องให้เราอ่านประมาณ 8 เรื่อง และทั้งหมดนี้จะมีคำถามอยู่ประมาณ 40 – 50 คำถาม
พจนานุกรม อนุญาตให้นำติดตัวไปได้สูงสุด 3 เล่ม แต่ไม่อนุญาต elektronische woordenboeken และไม่อนุญาตพจนานุกรมที่มีตัวอย่างประโยค เช่น Leerwoordenboek เรื่องพจนานุกรมนี้มดไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ในห้องสอบคะเพราะว่ามันไม่มีเวลาใช้จริงๆ มัวแต่เปิดหาคำศัพท์ เผลอแผลบเดียวหมดเวลาไปซะแล้ว แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ใช้ได้คะ
ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็บริหารจัดการเวลาให้พอเหมาะในแต่ละตอนนะคะ จะได้เหลือเวลาไว้สำหรับทบทวนหรือแก้ไขคำตอบในข้อที่เราไม่แน่ใจคะ
Schrijven
สอบเขียนนี้แน่นอนว่าไวยากรณ์เป็นเรื่องสำคัญคะ ข้อสอบก็จะมีสองตอนคะ ตอนแรกเป็นแบบเขียน zinnen afmaken, เขียน memo หรือ briefje และตอนที่สองจะมีอยู่สามข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นเขียนจดหมาย klachtenbrieven
ให้ดูรูปแบบของจดหมายมาให้ดีๆนะคะ พวกคำขึ้นต้น ลงท้าย อะไรพวกนี้คะ อ้อ…แล้วก็พวก voegwoord ทั้งหลายก็สำคัญมากนะคะ
ให้ใช้ปากกาดำเท่านั้นในการเขียน และต้องเขียนให้อยู่ในกรอบที่เค้ากำหนดไว้นะคะ ห้ามเขียนเลยกรอบนั้นออกมา (ปากกาดำเค้ามีให้คะ แต่เราใช้ของเราเองก็ได้)
พจนานุกรม อนุญาตให้นำติดตัวไปได้สูงสุด 3 เล่ม แต่ไม่อนุญาต elektronische woordenboeken
Spreken
สอบพูดกับคอมพิวเตอร์นะคะ ทุกอย่างจะดำเนินการโดยอัตโนมัติคะ ให้เราฟังแล้วก็พูดๆๆ
ตัวข้อสอบพูดนี้จะมีแบบพูดประโยคสั้นๆ (ซึ่งตอบแค่หนึ่งคำหรือสองคำก็เพียงพอ) กับแบบประโยคที่ยาว อันนี้ส่วนมากให้อธิบายรูปภาพขั้นตอนการใช้เครื่องมือ หลังจากฟังคำถามเราจะมีเวลาประมาณ 10 วินาทีในการเตรียมคำตอบ พอได้ยินเสียง ปี๊บ ก็ให้เราตอบได้ และปี๊บอีกครั้งนึงคือหมดเวลา บางครั้งเราตอบได้แค่ครึ่งนึง แต่อีกครึ่งหมดเวลาไปก่อน อันนี้เราก็ยังพอได้คะแนนนะคะ เค้าจะพิจารณาจากภาพรวมว่าเราเข้าใจคำถามรึเปล่า
แนวข้อสอบพูดนี้ ก็ได้แก่ informatie geven, informatie vragen, instructies geven, iets weigeren, klagen, verontschuldigen, een mening geven, argumenten noemen, een beschrijving geven of een advies geven เป็นต้น
สอบพูดทั้งหมด 21 ข้อ ตอบแบบสั้นๆ 12 ข้อ และแบบยาวขึ้นมาหน่อย 9 ข้อคะ
ข้อสอบบางข้อให้เราตอบสั้นแค่คำสองคำก็เพียงพอ (U hoeft bij de spreekopdracht niet alle antwoordtijd te gebruiken. Als u denkt dat uw antwoord voldoende is, kunt u stoppen met spreken.)
การพิจารณาการให้คะแนนพูดนี้ จะขึ้นอยู่กับความตรงประเด็น(inhoud), ไวยากรณ์(grammatica), คำศัพท์ที่ใช้ (woordkeus), สำเนียง (uitspraak) และจังหวะการพูด (tempo)
ถ้ายังไงก็ลองเข้าไปดูตัวอย่างข้อสอบได้ที่ expertisecentrum NT2 แล้วต้องหัดซ้อมจับเวลาด้วยนะคะ สำคัญมากมายคะ
@MaLiWan@